
rebecca clarke

Rebecca Helferich Clarke (27 August 1886 – 13 October 1979)
เธอเป็นนักแต่งเพลงและนักวิโอลาชาวอังกฤษ-อเมริกัน เเละยังเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติฐานะนักวิโอลา
ฝีมือดีเป็นหนึ่งในนักเล่นออเคสตร้ามืออาชีพหญิงคนแรกอีกด้วย Rebecca Clarke ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเธอได้ตั้งรกรากอย่างถาวรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
เธอเกิดที่เมืองฮาร์โรว์และศึกษาที่ Royal Academy of Music และ Royal College of Music ในลอนดอน เธอได้แต่งงานกับนักแต่งเพลงและนักเปียโน เจมส์ ฟริสกิ้นในปี 1944
Rebecca Clarke เสียชีวิตที่บ้านของเธอในนิวยอร์กเมื่ออายุได้ 93 ปี แม้ว่าผลงานของ Rebecca Clarke จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ผลงานของเธอก็เป็นที่ยอมรับในด้านทักษะการประพันธ์เพลงที่มีพลังทางศิลปะ ผลงานบางชิ้นของเธอยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ และงานอีกหลายชิ้นที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ ผลงานที่เผยแพร่ในช่วงชีวิตของเธอส่วนใหญ่ถูกหลงลืมไปแล้วหลังจากที่เธอหยุดแต่งเพลง เเละเธอเลือกจะกลับมาเเต่งเพลงอีกครั้งในปี 1976 หลังจากที่เธอเสียชีวิตไป ได้มีการก่อตั้ง
Rebecca Clarke Society ขึ้นในปี 2000 เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการแสดงดนตรีของเธอ
shorter pieces
for viola and piano


เรื่องราวของ Rebecca Clarke พบว่าในช่วงบั้นปลายของชีวิตของเธอนั้นน่าสนใจ เธอไม่ใช่นักแต่งเพลงที่มีผู้คนสนใจเท่านั้น แต่เป็นคนที่เเต่งเพลงเเละเล่นดนตรีได้อย่างสวยงามจริงๆ และถ้าคุณเป็น
นักเล่นวิโอลา เธอเป็นคนที่สร้างคุณค่ามากมายให้กับวิโอล่าที่ถูกกลุ่มคนประเมินค่าต่ำเอาไว้ ผลงานนี้คือ
ผลงานที่สร้างความแตกต่างของเเต่จะละบทไว้ทั้งหมด 6 บท มีความยากปานกลาง ผู้เล่นจะอยู่ที่เกรด 6 หรือ 7 เป็นบทเพลงที่เเต่ละท่อนมีความน่ารัก สวยงาม เเต่อีกมุมนึงเมื่อได้ฟังเเล้วก็ให้ความรู้สึกที่หดหู่ เศร้าหมอง สะท้อนเรื่องราวของชีวิตที่ทุกข์ระทมได้อีกด้วย จะมีเพลงกล่อมเด็ก 2 เพลง ชื่อว่า Lullaby อีกเพลงหนึ่งอิงจากเพลงเก่าของชาวไอริชชื่อว่า Lullaby (An Arrangement of an ancient irish tune) อีกเพลงหนึ่งไม่มีชื่อ (united) ต่อมาคือ
เพลง Chinese Puzzle ที่เล่นโดยการดีบนสายทั้งเพลงยกเว้นห้องสุดท้าย
เพลง Passacaglia ที่มีความเศร้าหมองและน่าหลงใหลซึ่งอาจจะเกี่ยวโยงกับการตายของ Frank Bridge และจบด้วยความสวยงามของเพลงสก็อตแลนด์ I'll Bid my Heart be Still ผลงานทั้งหมดนี้ถูกนำมารวมกันเป็น shorter pieces
มีแผ่นดิสก์ Naxos ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่ม Rebecca Clarke Society ซึ่งมันเป็นหนึ่งในซีดีเพลงที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก
sonata for viola and piano


ท่อนที่ 1 : Impetuoso เริ่มต้นด้วยเสียงวิโอล่าที่หนักเเน่น มีชีวิตชีวา และเน้นให้วิโอลาเเสดงถึงพลัง บรรเลงเดี่ยวที่เหมือน cadenza ให้ความรู้สึกประสานกันอย่างแน่นแฟ้นในหลายๆ การเคลื่อนไหว และความสัมพันธ์ระหว่างวิโอลากับเปียโนก็ค่อนข้างสับสนอลหม่าน แต่มันก็กลับมารวมกัน
อย่างกลมกลืนเสมอ บางครั้งฮาร์มอนีของ Clarke ก็เปลี่ยนไปใช้โหมดและสเกล การเปลี่ยนแปลง
ของเสียงนั้นแน่นอนที่สุดว่า Clarke รับมาจากอิทธิพลด้านการแต่งเพลงของ Claude Debussy ส่วนตรงกลางของท่อนนี้สะท้อนถึงผลงานชิ้นหนึ่งของ Debussy มีการใช้โหมดต่างๆ เเละยังสะท้อนถึงนักแต่งเพลงชาวอังกฤษอีกคนคือ Ralph Vaughan Williams
นักแต่งเพลงสองคนนี้เป็นอิทธิพลหลักของเธอ และทำนองและเสียงประสานบางส่วนของงานชิ้นนี้
ก็แสดงความเคารพต่อนักแต่งเพลงทั้ง 2 ท่านอย่างแน่นอน หลังจากเสียงที่เบาลงไป ก็เริ่มมีการเคลื่อนไหว
อีกครั้งด้วยจังหวะที่เร็วขึ้น โดยรวมแล้วท่วงทำนองนี้ไพเราะมากทั้งวิโอลาและเปียโน
ท่อนที่ II – Vivace มีความน่าตื่นเต้นและรวดเร็วจึงใช้ชื่อว่า 'Vivace' จากนั้นเมโลดี้เปียโนจะถูกพัฒนาเพื่อส่งต่อให้กับวิโอลา ตลอดการเคลื่อนไหวสั้นๆนี้ Clarke ใช้เทคนิคเพิ่มเติมบางอย่างเกี่ยวกับวิโอลา ซึ่งรวมถึงเสียงประสานและการดีดบนสาย หลังจากการเริ่มด้วยความหนักแน่น ดนตรีจะเริ่มลดไดนามิกลงอย่างชัดเจนและรวดเร็ว มีการกลับมาเริ่มดีดขึ้นอีกครั้ง และก็ดังขึ้นอีกทั้งวิโอลาและเปียโน
มีท่วงทำนองของการเต้นรำพื้นบ้านโดยใช้วิโอลาเพราะมันจะคล้ายกับเสียงของไวโอลินพื้นบ้าน การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนและรวดเร็วส่งให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของวิโอลาในฐานะเครื่องดนตรีที่สามารถเล่นวงก็ได้ หรือ บรรเลงเดี่ยวก็ดีเช่นกัน
ท่อนที่ III – Adagio เป็นท่อนที่ยาวที่สุดและช้าที่สุดในงานสามท่อนนี้ เเสดงออกด้วยอารมณ์ที่หม่นหมองตลอดเวลา เปียโนมีการเคลื่อนไหวด้วยท่วงทำนองที่เรียบง่าย วิโอลาก็เข้ามาด้วยเสียงก้องกังวาลดำเนินไปตลอดการเคลื่อนไหวของท่อนนี้ เป็นการเพิ่มความลึกลับอีกขั้นนึงให้กับผลงานชิ้นนี้ ซึ่งน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นการพัฒนาการตลอดทั้งโซนาตา ไดนามิกเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตลอดทางของการเคลื่อนไหว สร้างความตึงเครียดเพื่อส่งไปสู่ไคลแมกซ์ที่ใหญ่ขึ้นในภายหลัง การเคลื่อนไหวนี้มีความแข็งแกร่งที่หยั่งรากลึก โดยแกนหลักของดนตรีถูกนำและพัฒนามาจาก 2 ท่อนก่อนหน้า หลังจากกลับมาที่การเคลื่อนไหวแบบซิงโครไนซ์แล้ว Clarke มีเซอร์ไพรส์เหลือไว้ให้เราในตอนท้ายของท่อน หลังจากจุดไคลแมกซ์สุดท้าย ท่วงทำนองจะเปลี่ยนกลับไปเป็นการเล่นซ้ำของธีมเปิดของท่อนแรก เพลงนี้จบลงด้วยการแสดงความวิโอลาและเปียโนเพราะความยากของทั้งสองส่วนเท่าๆกัน Clarke จึงจบลงด้วยการแสดงความมีสเน่ห์ของสไตล์การเขียนที่ใช้เอกลักษณ์มากมายของ Clarke เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ยากจะรับมือเมื่อทำงานชิ้นนี้
in the concert...
ใน Recital อยากจะพาทุกท่านไปรับชมเเละรับฟังการเเสดงดนตรีคลาสสิค Viola and Piano บทเพลงที่น่าสนใจเเละทำนองที่สุดจะไพเราะ รวมถึงบรรยากาศที่จะพาทุกท่านล่องลอยไปพร้อมกับท่วงทำนอง เเละเข้าสู่ห้วงดิ่งลึกไปกับการทำพิธีกรรมบูชาบางอย่างที่จะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการบรรเลงดนตรีคลาสสิคประกอบในช่วงครึ่งหลัง ทุกท่านจะได้สัมผัสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง จะน่าสนใจเเค่ไหนอยากให้ทุกท่านติดตามเเละเรียนเชิญมารับชมรับฟังไปพร้อมๆกันได้ ตามโปสเตอร์ด้านล่าง...
