
REPertoire

Paul Hindemith
Der Schwanendreher
บทเพลงที่สะท้อนถึงธรรมชาติ ภูมิทัศน์ เเละความเงียบสงบของ
เทือกเขาเอลป์ เขาเรียกบทเพลงนี้ว่า “บทกวีเเห่งหุบเขา” ท่ามกลางฤดูใบไม้ร่วง
ในปี 1935 เขาได้พักอยู่ท่ามกลางเทือกเขาเอลป์ เค้าเดินทางเพื่อหาเเรงบันดาลใจในการสร้างผลงานดนตรีเเละศิลปะ วันนั้นเขามองเห็นเเสงอาทิตย์ที่สาดลงมา
กระทบกับเนินเขาทำให้เกิดเงาระหว่างเนินเขากับหุบเขาจึงกลายเป็นภาพที่
ปลุกเร้าจิตวิญญาณของเขาให้เขียนเพลงนี้ขึ้นมา เมื่อปากกาของเขาสัมผัสกับกระดาษเสียง Viola ก็ดังขึ้นในหัวท่วงทำนองที่ดูเหมือนจะสะท้อนถึงภูเขาเป็นท่วงทำนองที่มุ่งขึ้นสู่ที่สูงเเละดิ่งลงสู่ส่วนลึก สะท้อนภูมิทัศน์ที่เขามองเห็น
เขาต้องการที่จะเชื่อมโยงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติกับอารมณ์ของมนุษย์
สื่อออกมาเป็นตัวดนตรี บทเพลงนี้จึงกลายเป็นบทกวีซึ่งเปรียบดังจดหมายรักทางโลกดนตรีเเละโลกธรรมชาติ
Viola Concerto in A minor
พูดถึงเนินเขาในย่านชนบทของประเทศอังกฤษเป็นช่วงที่โลกกำลังฟื้นจากสงครามครั้งใหญ่ Walton ได้มองหาเเรงบันดาลใจในการเเต่งเพลง โดยเช้าวันนั้นเขาได้ปั่นจักรยานไปตามเนินเขา ได้ชื่นชมธรรมชาติมากมาย เขาได้ยินเสียงของธรรมชาติ สายลม เสียงนก เสียงใบไม้ เสียงกลุ่มผึ้ง ลำธาร เขาจึงเรียกเสียงเหล่านี้ว่า “Symphony of life” เขาได้เดินไปตามทุ่งหญ้าเเละได้บันทึกเสียงของธรรมชาติ ลำธาร เสียงสัตว์เล็กต่างๆ สิ่งที่ได้พบในวันนั้นเขาได้เปรียบกระดาษเสมือนเป็นผ้าใบสีขาวที่จะใช้วาดภาพในจินตนาการออกมาเป็นโน๊ตเพลง

Sir William Walton
Antonín Dvořák

Herbert Howells
Sonatina Op.100
(Viola and Piano Version)
ในปี 1983 ระหว่างที่ Dvorak ได้อาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกาได้ประพันธ์
บทเพลง Sonatina for Violin and Piano ขึ้นมาทั้งหมด 4 ท่อน เพื่ออุทิศให้กับ
ลูกของเขา Dvorak ได้ประพันธ์ขึ้นมาจากเเรงบันดาลใจที่ได้พูดคุย พบปะกับ
ชาวพื้นเมืองอินเดียที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาที่เล่าถึงวิถีชีวิตคนอินเดีย ภูมิทัศน์
ความเป็นอยู่ เขาจึงตัดสินใจที่จะให้ลูกชายเล่นเปียโนเเละลูกชายอีกคนเล่นไวโอลิน
เป็นการสร้างผลงานทางดนตรีให้เกิดประโยชน์ทางการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
Romanze Oublée
ในปี 1881 Arnold Simon ได้เผยเเพร่ผลงานการประพันธ์ของนักประพันธ์ชาวฮังการี Franz Liszt ด้วยชื่อ ‘Romance Oubliée’ ใน 4 เเบบด้วยกัน ได้เเก่ Piano Solo, Violin and Piano, Viola and Piano เเละ Cello and Piano จากทั้งหมดนี้มีเพียงเเค่เวอร์ชั่นของ Piano Solo เเละ Viola and Piano เท่านั้นที่มีสถานะเเตกต่างจากอันอื่น เพราะเป็นงานประพันธ์ที่เป็นต้นฉบับของงานประพันธ์ชิ้นอื่นเเละเขียนขึ้นเพื่ออุทิศให้กับ Hermann Ritter (1849-1926) นัก Viola-alta (วิโอล่า 5 สาย) ซึ่งก็ดูเหมือนว่า Ritter จะใช้เพลงนี้เเสดงบ่อยมากๆ ในช่วงนั้นจนทำให้เป็นที่รู้จักมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ความประสบความสำเร็จของ Simon ในการตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ ทำให้ Bachmann เผยเเพร่งานเรียบเรียงใหม่โดย Ritter สำหรับ Viola-alta พร้อมกับ Orchestra Accompaniment
บทประพันธ์นี้เป็นบทประพันธ์สำหรับวิโอล่าเพียงบทเดียวที่ Liszt ประพันธ์ขึ้น เเละประพันธ์ขึ้นในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา เเต่ถึงกระนั้นเขาก็ดูจะศึกษาเเละเข้าใจถึงตัวเครื่องวิโอล่าเป็นอย่างดี บทประพันธ์นี้ถือได้ว่าสามารถดึงเอาความสามารถของเครื่องวิโอล่าออกมาได้เป็นอย่างดีมากๆ Range ของเสียง รูปเเบบนิ้ว โทนของเสียง สี บรรยากาศ ทุกอย่างเอื้อให้กับตัวเครื่องมากๆ เเละสามารถเล่นเข้ากับเครื่องวิโอล่าได้อย่างสบายๆ

Franz Liszt
Elegy for Solo Viola Op.15
เป็นบทเพลงที่สวยงามเเต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความเจ็บปวดท่ามกลาง
ปีที่แสนเจ็บปวดของชาวอังกฤษที่ต้องเผชิญกับสงครามโลก Howell ได้สร้างผลงานที่ได้รวบรวมความโศกเศร้าเอาไว้ สงครามนำมาซึ่งความสูญเสียเเละความทุกข์ใจ เขาจึงตัดสินใจที่จะสร้างผลงานทางดนตรีโดยใช้ความเจ็บปวดเหล่านี้ออกมาใช้ให้เกิประโยชน์
กระดาษของเขาเปรียบดังภาชนะเอาไว้ใส่ความโศกเศร้าของคนทั้งโลกเอาไว้จึงเลือกเสียงของ Viola ที่มีน้ำเสียงทุ้มลึกที่สามารถนำเสนอเเละสื่อสารโน๊ตเเต่ละตัวได้ดีที่สุด
