
reference

หนังเล่าถึงชีวิตของหญิงสาวชาวอเมริกัน ซูซี่ แบนเนี่ยน
ที่ตั้งใจและอยากจะเข้าร่วมกับคณะการแสดงบัลเลต์
ที่มีชื่อเสียงของ มาดามบลังค์ เธอจึงตัดสินใจเดินทาง
ไปที่ประเทศเยอรมัน พื่อขอเข้าร่วมคณะ แต่ใครจะรู้ว่าก้าวแรกของเธอนั้นแท้จริงคือจุดเริ่มต้นของ
ความสยดสยองลึกลับ ซึ่งความชั่วร้ายที่แอบแฝง
อยู่ภายใต้โฉมหน้าของคณะบัลเลต์นั้นพร้อมที่จะกลืนกินเสียงคร่ำครวญของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ สถาบันแห่งนี้
ได้ซุกซ่อนความลับอันดำมืดเกี่ยวกับลัทธิ “แม่มด”
มีเสียงวิจารณ์ที่แตกไปหลายๆ แบบ อาจจะเพราะด้วยความรุนแรง และฉากโป๊เปลือยท้าทายศีลธรรมที่อัดแน่นทั้งเรื่อง และองค์ประกอบของภาพยนตร์ที่กระตุ้นต่อมความกลัวแบบสุดโต่ง จึงทำให้เกิดความรู้สึกที่แตกออกอย่างชัดเจน ซึ่งฉากที่มีการทำพิธีกรรมมีความคล้ายกับพิธีบูชาซาตานเป็นอะไรที่น่าสนใจเเละคิดว่าสามารถนำมาต่อยอดกับการเเสดงประกอบดนตรีได้
คนในหมู่บ้านนี้นอกจากวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องเกิดแก่เจ็บตายแล้ว อย่างนึงคือเหมือนจะมีวิธีการแสดงออกถึงอารมณ์ร่วมกับคนในหมู่บ้านกันเอง
จนถ้ามองจากสายตาคนปกติ(คนนอก)จะดูพิลึก
เวลาที่นางเอกร้องไห้ด้วยความเสียใจพวกผู้หญิงที่
เกาะกลุ่มอยู่นั้นก็จะร่วมปล่อยโฮไปด้วย และตอนที่เห็นมีคนในหมู่บ้านเจ็บปวด เช่นตกจากผาแล้วยังไม่ตายหรือกำลังถูกเผา ก็จะร่ำร้องแบบโอดโอยทรมานหรือบ้าคลั่ง
หรือตอนที่มีพีธีกรรม sex ผู้หญิงที่ล้อมเฝ้าดูก็จะแสดงอารมณ์ร่วมแล้วส่งเสียงคล้ายบทสวดประกอบจังหวะกาม
ส่วนนางเอกเองถ้าย้อนกลับไปดูตั้งแต่ต้นเรื่องหมือนหนังจะสื่อว่านางเอกเป็นคนที่มีปัญหาด้านจิตเภทจนต้องปรึกษาด้านนี้อยู่แล้ว ดังนั้นตอนสุดท้ายที่นางเอกกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนในหมู่บ้านก็เหมือนกับจะบอกว่านางเอกได้เข้าขั้นโรคจิตสติหลุดไปแล้ว เป็นการปลดล็อคสมองจนยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้(แม้ไม่ค่อยเต็มใจ)
แล้วที่นางเอกเลือกที่จะบูชายัญพระเอกก็เหมือนลบอดีตทิ้งไปให้หมดด้วย แล้วเกิดใหม่ในฐานะครอบครัวเดียวกันกับคนในหมู่บ้านนั่นเอง ซึ่งหนังเรื่องนี้มีพิธีกรรมเยอะเเยะมากกมายให้เลือกที่จะนำมาใช้ในการเเสดงได้


เป็นเรื่องราวของ คดีของ อาร์นี่ จอห์นสัน ที่ลงมือสังหารเจ้าของที่ดินของเขาอย่างโหดเหี้ยม โดยเขาเป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่กล่าวอ้างว่าปิศาจสั่งให้เขาทำซึ่งคดีดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ
The Devil Made Me Do It และคดีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคดีขึ้นชื่อที่อยู่ในแฟ้มคดีไล่ผีของ
Ed และ Lauren Warren เปิดเรื่องมาหนังก็เอาความหลอนมาให้เลย เพราะหนังเล่าถึงการไล่ผีออกจากตัวเด็กน้อยแต่กลับกลายเป็นว่าผีดันไปเข้าสิง อาร์นี่ แทนซึ่งพอหลังจากนั้นอาร์นี่ก็เริ่มเปลี่ยนไปและมีสิ่งแปลกๆ เกิดขึ้นเหมือนคนที่โดนผีตามติดอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่ว่ารอบนี้ผีสามารถเข้าๆออกๆจากตัวร่างได้ด้วย ซึ่งทำให้เพิ่มความยากในการจัดการให้แก่
The Warren มากขึ้น หนังเฉลยปมปริศนาของการถูกเข้าสิงว่ามันคือการข้องเกี่ยวกับลัทธิซาตาน ผมกลับมาคำถามว่าเรื่องจริงมันคือแบบนี้จริงมั๊ย เพราะมันดูเป็นหนังมนต์ดำ ไสยเวทย์ ไปเลย แต่ก็อย่างว่าเรื่องแบบนี้
เราก็ไม่รู้เพราะเมืองไทยก็ยังมีอยู่ทำไมฝรั่งจะมีไม่ได้
นวนิยายของแดนบราวน์ที่เป็นแนวสืบสวน ประวัติศาสตร์ อาชญากรรม ที่เกี่ยวข้องกับเบื้องหลังของคริสตจักร มีฉากหลังที่กรุงวาติกัน ชอบการผูกเรื่องประวัติศาสตร์ของสถานที่เล่นกับทฤษฎีสมคบคิดได้ฉลาดมาก ชอบการเปรียบเทียบระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ดำเนินเรื่องกระชับ
มีมิติทุกตัวละคร ความเชื่อมโยงกับพิธีกรรมมีไม่มากเเต่ได้เห็นในมุมมองของฝั่งคริสตจักรประกอบการศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ไบเบิล และคัมภีร์ฮีบรู ที่พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับซาตานหรือ สิ่งที่ต่อต้านกับฝั่งพระเจ้า ส่วนมากหนังเรื่องจะเชื่อมโยงกับลัทธิอิลลูมินาติซะมากกว่า



The Rite of Spring ผลงานของ อีกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinsky, 1882-1971) คีตกวีหัวก้าวหน้าคนสำคัญสัญชาติรัสเซีย อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ดนตรี เกิดขึ้นจากภาพสมาชิกนักเต้นรำชายหญิงที่สวมชุดพื้นเมืองกำลังเต้นรำประกอบพิธีกรรมการบูชายัญด้วยท่าทางก้าวร้าวผิดจากขนบบัลเล่ต์เดิม
พร้อมประกอบกับเสียงจากวงออเคสตราที่บรรเลงอย่างขัดหูผู้ฟังชาวเมืองปารีสประเทศฝรั่งเศส ในรอบแสดงปฐมทัศน์เมื่อปี 1913 ภายในงานผู้คนเริ่มโห่ไล่นักแสดง และนักดนตรี อย่างหนัก เกิดการถกเถียงระหว่างผู้ฟังสองฝ่าย
นำไปสู่การทำลายสถานที่จัดงาน ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ความรุนแรงบานปลาย
มันถูกวิจารณ์อย่างหนักและถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏแห่งเสียงดนตรีและวงการบัลเล่ต์ ในส่วนของดนตรีอย่างที่กล่าวไว้ว่า
มีความอึกกะทึก ก้าวร้าว รุนแรง และมีเสียงที่แปลกหูผู้ฟัง แต่ภายใต้สิ่งเหล่านั้นความงามมีอยู่หลายมิติ เริ่มตั้งแต่
สิ่งที่สังเกตได้ง่ายที่สุด มันกลายเป็นเอกลักษณ์ของ อีกอร์ สตราวินสกี ทุกสิ่งดูเป็นสิ่งใหม่ในยุคนั้น ไม่แปลกที่จะเกิดเหตุจลาจลในวันแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ปารีส และเขาถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏแห่งโลกดนตรี ไม่เพียงแค่เขาแต่รวมถึง
นักประพันธ์คนสำคัญแห่งยุคก่อน ๆ อย่าง ลุควิค ฟาน เบธอเฟน (Ludwig van Beethoven, 1770-1827) หรือนักประพันธ์ร่วมยุคกับเขาอย่าง อาร์โนลด์ เชินแบร์ก
(Arnold Schoenberg, 1874-1951) ตลอดจนนักประพันธ์เพลงท่านอื่น ๆ ที่นำพาดนตรี
ไปอีกขั้นในแนวทางของตน หากพวกเขาไม่คิดต่าง ไม่กล้านำเสนอความคิด และไม่กล้าแสดงออก โลกดนตรีคงไม่มีวิวัฒนาการจนถึงจุดนี้ได้ ปัจจุบันเสียงของอนาคตอาจไม่ถูกพบ และยังรอคอยผู้นำคนต่อไปเพื่อนำเสียงนั้นมอบให้โลกปัจจุบันและผันเป็นจุดเปลี่ยนผ่านไปยังศตวรรษใหม่แต่ในวันนี้ The Rite of Spring กลับกลายเป็นหนึ่งในชิ้นงานบัลเลต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของศตวรรษที่ 20